เกี่ยวกับบ้านมือสอง

บ้านมือสอง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่กำลังมองหาบ้านใหม่ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ต้องการเสียเวลาสร้างบ้านเอง เพราะเป็นบ้านที่สร้างเสร็จก่อนขาย(คล้ายสโลแกนของหมู่บ้านจัดสรรหลายๆ  โครงการ) ทำให้เรามีโอกาสเห็นสภาพบ้านจริงก่อนตันสินใจซื้อ และเช็คสภาพบ้านมือสองเบื้องต้นด้วย เพื่อไม่ให้การซื้อบ้าน(เก่า)หลังใหม่เกิดข้อผิดพลาด จนทำให้เราต้องเสียใจในภายหลังกับสารพัดปัญหาที่ผู้ขายส่วนใหญ่ปกปิดไว้ เช่น หลังคารั่ว ผนังร้าว ท่อตัน บ้านทรุด จนเป็นเหตุให้ต้องเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลากับการซ่อมแซมบ้านใหม่ แล้วยังต้องมานั่งเสียน้ำตาในความเสียหายที่เลือกบ้านผิด

3 จุดสำคัญในการตรวจสภาพบ้านมือสอง
ความเสื่อมเป็นธรรมดาของสรรพสิ่ง บ้านเองก็เช่นกัน ย่อมมีสภาพการใช้งานตามอายุ ยิ่งเป็นบ้านเก่าสร้างมานาน ก็ยิ่งต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษในการตรวจเช็คก่อนตัดสินใจซื้อ โดยเฉพาะบ้านที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขั้นไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่โครงสร้างของบ้านอาจเริ่มมีปัญหาให้เห็น เช่น คาน พื้น และผนังฉาบปูนอาจมีรอยร้าว ซึ่งรอยร้าวบางประเภทนั้นเป็นสัญญาณที่ช่วยให้เราทราบถึงภัยอันตรายที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้างบ้าน
 แต่อย่างไรก็ดี ระหว่างขั้นตอนการตรวจเช็คสภาพโครงสร้างบ้าน เราควรหาวิศวกรหรือสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญมาร่วมตรวจสอบด้วยทุกครั้ง สำหรับการตรวจสอบสภาพความแข็งแรงของบ้าน แบ่งเป็นหัวข้อจากภายนอกสู่ภายในบ้านตามลำดับดังนี้
1. ตรวจสภาพภายนอกบ้าน
  • วิเคาระห์สภาพบริเวณรอบๆ บ้านว่ามีการทรุดตัวมากน้อยแค่ไหน อาจสังเกตได้จากลานจอดรถหรือลานซักล้าง
  • สังเกตว่าน้ำฝนจากอาคารข้างเคียงสามารถไหลเข้ามาในบริเวณบ้านได้หรือไม่
  • มีต้นไม้ใหญ่ยื่นเข้ามาบังแดดหรือมีระบบรากชอนไชที่สามารถดันกำแพงบ้านเสียหายหรือไม่
  • เช็คที่ตั้งของบ้านว่าอยู่ในที่ลุ่มน้ำท่วมหรือไม่ และมีระดับต่ำกว่าถนนหน้าบ้านแค่ไหน 
  • ตรวจเช็คว่าอาคารข้างเคียงมีการขุดบ่อหรือสระใกล้บ้านจนอาจทำให้บ้านทรุดพังได้หรือไม่
  • ตรวจเช็คหลังคาบ้านว่ามีน้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้านหรือไม่
  • ตรวจเช็คสภาพสีบนผนังของบ้านว่ามีร่องรอยด่างบวมหรือไม่
2.  ตรวจสอบงานระบบ
  • ตรวจระบบประปาว่ามีการรั่วซึมของน้ำบริเวณผนังและใต้พื้นห้องน้ำหรือไม่
  • ตรวจเช็คระบบไฟฟ้า สังเกตสายไฟว่าเสื่อมคุณภาพหรือไม่
     
3.  ตรวจเช็คสภาพโครงสร้างอาคาร
  • สังเกตสภาพรวมของตัวบ้านว่าอยู่ในแนวดิ่งตั้งฉากกับพื้นหรือไม่
  • โครงสร้างเสาและคานรับน้ำหนักบ้านจะต้องไม่แอ่นหรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
  • ตรวจหารอยร้าวในคานและเสาเนื่องจากเสาและคานเป็นโครงสร้างหลักที่รับน้ำหนักบ้าน
  • สังเกตลักษณะรอยแตกร้าวบนพื้นภายในบ้านว่าเป็นรอยร้าวที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้างอาคารหรือไม่
  • มีรอยแตกร้าวเป็นเพียงรอยร้าวของผิววัสดุตกแต่งพื้น หรือเกิดจากพื้น
ที่มา: www.homed4u.com/index.php?mode=preview&lay=show&ac=article&Id=539199843

Ebook สอนขายสมุดโน๊ต Amazon KDP

Ebook สอนขายสมุดโน๊ต Amazon KDP
Ebook สอนขายสมุดโน๊ตที่เว็ป Amazon ลงทุน 0 บาท

บทความเทคนิคการซ่อมแซมบ้านที่เกี่ยวข้อง

เกร็ดความรู้และเทคนิคในการซ่อมแซมบ้าน ต่อเติมตกแต่งทั้งภายใน-ภายนอก การดูแลรักษาแอร์ สุขภัณฑ์ห้องน้ำ ไฟฟ้า-ประปา และสาระน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับงานช่างทุกชนิด หากท่านมีปัญหาหรือต้องการติดต่อลงโฆษณาสามารถสอบถามได้ที่: โทร.084-8105547 อีเมล์: rutsha001@gmail.com