การทำสูญญากาศ ระบบท่อน้ำยาแอร์
การทำสูญญากาศให้กับระบบท่อน้ำยาเครื่องปรับอากาศนั้นมีความสำคัญอย่างมากทีเดียว เพราะความชื้นในระบบท่อน้ำยา หากผสมกับน้ำยาแอร์จะมีปฏิกิริยากลายเป็น”กรดไฮโดรคลอริค“ซึ่งสามารถกัดกร่อนโลหะต่างๆได้ และน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้อยู่ในระบบปรับอากาศเพื่อหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างในคอมเพรสเซอร์ยังมีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมาเจอกับกรดไฮโดรคลอริคจะรวมตัวกันกลายสภาพเป็นยางเหนียวทำให้ความสามารถในการหล่อลื่นของน้ำมันลดลงอย่างมากจนทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหาย และอีกอย่างหนึ่ง ความชื้นในระบบท่อน้ำยาอาจกลายเป็นน้ำแข็งและขัดขวางทางเดินน้ำยาแอร์ ทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักมากขึ้น และอาจน็อคในที่สุด
จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นเราสามารถป้องกันได้โดยการทำสูญญากาศระบท่อน้ำยาแอร์ หรือแวคคั่ม โดยใช้ Vacuum Pump โดยเฉพาะ ช่างหลายคนอาจใช้คอมเพรสเซอร์แอร์เก่ามาประยุกต์ทำเป็น Vacuum pump ซึ่งนั้นเป็นวิธีที่ผิดอย่างมาก เพราะคอมเพรสเซอร์แอร์ ไม่เหมาะที่นำมาทำเป็นปั๊มสูญญากาศ ก่อนทำการเติมสารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์เข้าสู่ระบบ ทั้งตอนติดตั้งแอร์ใหม่ หรือซ่อมรั่วระบบท่อน้ำยา
วิธีการขั้นตอนการทำสูญญากาศเริ่มด้วย หลังจากการทดสอบรอยรั่วของท่อน้ำยาแอร์ด้วยไนโตรเจนแล้ว
ขอบคุณบทความจาก : www.watcharaaircon.com/ vacuum-pump/
จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นเราสามารถป้องกันได้โดยการทำสูญญากาศระบท่อน้ำยาแอร์ หรือแวคคั่ม โดยใช้ Vacuum Pump โดยเฉพาะ ช่างหลายคนอาจใช้คอมเพรสเซอร์แอร์เก่ามาประยุกต์ทำเป็น Vacuum pump ซึ่งนั้นเป็นวิธีที่ผิดอย่างมาก เพราะคอมเพรสเซอร์แอร์ ไม่เหมาะที่นำมาทำเป็นปั๊มสูญญากาศ ก่อนทำการเติมสารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์เข้าสู่ระบบ ทั้งตอนติดตั้งแอร์ใหม่ หรือซ่อมรั่วระบบท่อน้ำยา
วิธีการขั้นตอนการทำสูญญากาศเริ่มด้วย หลังจากการทดสอบรอยรั่วของท่อน้ำยาแอร์ด้วยไนโตรเจนแล้ว
- ทำการปล่อยไนโตรเจนออกจากระบบให้หมดเสียก่อน
- เสียบสายเกจน้ำยาสีน้ำเงินเข้าที่วาล์วเซอร์วิสที่คอยล์ร้อน สีเหลืองเข้าที่ปั๊มทำสูญญากาศ
- เปิดเครื่องทำสูญญากาศ เปิดวาล์วด้านสีน้ำเงิน ทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาที และสังเกตุเข็มเกจ์น้ำยาว่าตกลงมาที่ -30 ปอนต่อตารางนิ้ว(psig)
- หลังจากนั้น ปิดวาล์วเกจ์น้ำยาแอร์ ปิดเครื่องทำสูญญากาศ ทิ้งไว้ประมาณ 3-5นาที เพื่อสังเกตเข็มเกจ์น้ำยาว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากตำแหน่งเดิมหรือไม่ หากเข็มเกจน้ำยาหมุนขึ้นมาที่ 0 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว แสดงว่าระบบท่อยังมีรอยรั่วอยู่ ต้องทำการแก้ไข หารอยรั่วและซ่อมก่อนทำสูญญากาศอีกครั้ง ถ้าตำแหน่งเข็มไม่ขยับก็ข้ามไปยังขั้นตอนต่อไปกันเลยครับ
- โดยปรกติแล้วขั้นตอนนี้คือการเติมสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์เข้าระบบ แต่มีทริคส่วนตัวที่ผมทำอยู่เพื่อเช็คความชัวร์ก็คือ ทำสูญญากาศเพิ่มแกประมาณ 5 นาทีก่อนเติมน้ำยาแอร์เข้าสู่ระบบ
คงพอได้รู้ขั้นตอนไปบ้างแล้ว สำหรับการทำสูญญากาศหรือแว๊คคั่ม การทำอย่างชำนาญและถูกวิธีจะช่วยการติดตั้งแอร์ หรือซ่อมแซมแอร์นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่มีปัญหาให้ต้องกลับไปแก้หลายครั้งหลายหน